1. สมัยอาณาจักรสุเมเรีย


                 อาณาจักรสุเมเรีย (3,200-2,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

                  
          ก่อนที่ชาวสุเมเรียจะตั้งหลักปักฐานในบริเวณแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสได้อาศัยอยู่ตามบริเวณเนินเขาและจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน รู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก ตลอดจนประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องช้เพื่อใช้ในการทำนา เช่น จอบและเสียม จนเกิดเป็น “การปฏิวัติเกษตรกรรม” ในเวลาไม่นานพวกซูเมเรียก็อพยพลงไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำ และพัฒนาการเกษตรแบบชลประทานที่ให้ผลผลิตมากขึ้นเกิดการสร้างสังคมที่ซับซ้อนและสถาบันทางสัมคมระบบใหม่ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีใหม่กับสถาบันใหม่ๆ ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงลูกโซ่และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆจนเกิดเป็น”อารยธรรม”
โดยทั่วไปสภาพภูมิประเทศของเมโสโปเตเมียไม่ค่อยเอื้อำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานนัก เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนน้อย อากาศร้อนจัด ขาดหินที่เป็นวัสดุก่อสร้างสำคัญ และบ่อยครั้งอาจได้รับภัยจากน้ำท่วมที่เกิดจากภาวะฝนตกหนักในตอนเหนือและการละลายของหิมะในบริเวณเทือกเขาซากรอสและเทือกเขาเทารัส ซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำทุกปีในขณะเดียวกันธรรมชาติ ณ บริเวณดังกล่าวซึ่งมีมาแต่โบราณก็มีสิ่งทดแทนให้ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของผลอินทผลัมที่อุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆที่สำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ที่เป็น
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย หนองบึงที่มีต้นกกขึ้นซึ่งเป็นที่อาศัยและหากินของปลาและดึงดูดสัตว์ปีกนานาพันธุ์ รวมทั้งดินตามฝั่งแม่น้ำไทกริส ยูเฟรทีสยังเป็นดินที่อุดมด้วยปุ๋ยจากธรรมชาติจากการตกตะกอน สภาพแวดล้อมดังกล่าวจึงนับว่ามีความเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานใหม่
อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวสุเมเรียต้องคิดค้นการชลประทานและการระบายน้ำไปยังพื้นที่เพาะปลูก ในเวลาไม่ช้า ชาวนาก็เริ่มขุดคูคลองส่งน้ำขนาดเล็กต่อจากแม่น้ำเพื่อระบายไปยังไร่นาของพวกเขา ทั้งยังมีการประดิษฐ์คันไถทำด้วยโลหะสำริด ซึ่งเกิดจากการนำแร่ดีบุกผสมกับทองแดงทำให้คันไถแข็งแกร่ง และนำวัวคู่มาเทียมคันไถ นับว่ามีความสำคัญและเป็นครั้งแรกที่มีการนำแรงงานสัตว์มาใช้ทุ่นแรงมนุษย์ ทำให้การทำนาได้ผลผลิตข้าวมาก จำนวนข้าวที่ผลิตได้มากส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการขุดคูคลองส่งน้ำเพิ่มขึ้นด้วย ก่อให้เกิดการเพิ่มของผลผลิตทางเกษตรกรรม จำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชน และการสร้างสังคมเมือง (Urban society) อย่างต่อเนื่อง
  โดยความเป็นจริงสังคมเมืองของพวกสุเมเรียปรากฎมาให้เห็นตั้งแต่ 3,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาได้มีการจัดตั้งเป็นนครรัฐ(City-state) จำนวน 12 นครรัฐ นอกกำแพงเมืองเป็นที่ตั้งของไร่นาซึ่งเป็นแหล่งอาหารของชาวเมือง ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของกษัตริย์ นักบวช และชาวเมืองที่มั่งคั่ง โดยมีชนชั้นแรงงานหรือชาวนาเป็นแรงงานเพาะปลูก เมื่อได้ผลผลิตซ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี ก็ต้องยกให้แก่วัง วัด หรือคหบดีเจ้าของที่ดิน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการใช้ที่ดินหรือการให้เช่าที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการทำบัญชีที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อบันทึกรายละเอียดต่างๆ ของจำนวนที่ดินที่ให้เช่า ค่าเช่า ขนาดของฝูงสัตว์ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่าน และอื่นๆ ความจำเป็นดังกล่าวนี้ทำให้ชาวสุเมเรียคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรลิ่ม ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “cuneus” แปลว่าลิ่มและ “formus” แปลว่ารูป
      ในสังคมชาวสุเมเรีย ภัยจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้ เช่นภาวะน้ำท่วม ที่แม้จะมีการสร้างเขื่อนแต่ก็ไม่สามารถป้องกันชีวิตของผู้คนนับพันได้ รวมทั้งการไร้ปราการธรรมชาติที่จะขวางกั้น ศรัตรูได้ได้สร้างความรู้สึกสิ้นหวังให้แก่พวกเขา และยอมตกอยู่ในอำนาจลี้ลับของพระเจ้า พวกสุเมเรียมองว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้าเท่านั้น และไม่ว่ามนุษย์จะกระทำการใดๆ ก็ไม่อาจทำให้พวกเขาได้เป็นมากกว่าลม คือไม่มีตัวตน ดังนั้นพวกสุเมเรียจึงทุ่มเทให้กับการสร้างส-ปัตยกรรมขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติ เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) เพื่อเป็นเทวสถานในการบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าประจำเมือง เพื่อไม่ให้พระองค์ทรงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ รวมทั้งเป็นที่สอนหนังสือให้แก่นักบวชรุนเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆ และอ่านออกเขียนได้



ประวัติศาสตร์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

                  เมโสโปเตเมีย ความหมายของเมโสโปเตเมีย      เมโสโปเตเมียเป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ โดยม...